พรรคกรีนประเทศไทย

ประชุมใหญ่จัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๖๑ ที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ประชุมใหญ่จัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๖๑ ที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีมติเลือกนาย พงศา ชูแนม ประธานมูลนิธิธนาคารต้นไม้เป็นหัวหน้าพรรคกรีนคนแรก
ยื่นจดทะเบียนกับกกต. เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 ผู้ก่อตั้ง 574 คน

ปุจaฉา:ใช้ทุนจากไหน
วิสัชนา:การจดทะเบียนก่อตั้งพรรคเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของคนสามัญทั่วไปผ่านแนวคิด 1,000มือ มือละ 1,000 เพื่อ 1,000,000บาท จนได้ยอดเงินครบ1,078,518บาท นัยยะว่าประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของพรรคกรีน ไม่เกี่ยวข้องกับระบบทุนใดๆ

ปุจฉา:พรรคกรีนต่างกับพรรคอื่นอย่างไร
วิสัชนา: ต่างกันทุกอย่าง เป็นพรรคการเมืองของประชาชนทุกคนร่วมจ่าย ทุนประเดิม ค่าสมาชิก และไม่รับเงินสนับสนุนจากระบบทุนใดๆ

กรรมการบริหารหน้าใหม่ทุกคน เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาประเทศโดยเริ่มจากชนบท เพราะเชื่อว่าทุกครั้งที่เศรษฐกิจดีเริ่มจาก ชนบทมีกำลังจับจ่ายใช้สอย
มีจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ไม่โน้มเอียงเข้าฝ่ายใด เน้นทำตาม นโยบายที่เสนอต่อประชาชนเป็นสำคัญ


มีจุดยืนเป็นขั้วการเมืองฝ่ายประชาชนผู้เดือดร้อน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสองขั้วเดิม

ปุจฉา:พรรคกรีนมีอะไร...ใหม่
วิสัชนา:การแก้ปัญหาความยากจน /หนี้สิน ธนาคารต้นไม้ทำให้ประชาชนมีทรัพย์ตามมูลค่าต้นไม้ และสามารถนำไปค้ำประกันหนี้ได้
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอันดับ 3 ของโลกการมีทรัพย์จากมูลค่าต้นไม้ทำให้เกิดความเท่าเทียมในทรัพย์
ปัญหาด้อยสิทธิ์ในที่ทำกิน
มีมาตรการจัดการที่ดินทำกินทุกตารางนิ้ว ให้ชอบด้วยกฎหมาย รัฐไม่สูญเสียที่ดิน จัดทำเป็นพื้นที่สิทธิพิเศษ Right & Green
รายได้น้อย จากผลผลิตของการเกษตรตกต่ำ ออกมาตรการให้สมการราคาสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ และกำกับราคาต้นทุนได้
ความขัดแย้ง แบ่งขั้ว
เสนอทางออกให้พรรคการเมืองหันมาต่อสู้กับปัญหาเชิงประเด็นแทนการทะเลาะกันเอง และให้สภาประชาชนกำกับการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ
ปัญหาจากสุขภาพ จากอาหารปนเปื้อนมีอาหารปลอดภัยจากเกษตรกรรมสุขภาพ

พรรคกรีน จึงจัดทำนโยบายเร่งด่วนดังกล่าว ซึ่งมีวิธีการดำเนินด้วยมาตรการ
ดังต่อไปนี้

(๑) ต้นไม้เป็นทรัพย์สิน :
สร้างบัตรแสดงความมีทรัพย์สินจากมูลค่าต้นไม้(TAC) Tree Asset Card ให้ประชาชนเจ้าของต้นไม้ โดยการผลักดัน พรบ. ธนาคารต้นไม้ เพื่อรับรองต้นไม้ของประชาชนให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ขณะที่มีชีวิต

(๒) ที่ทำกินถูกต้องเป็นธรรม :
ออกมาตรการทำที่ดินทำกินทุกตารางนิ้วในประเทศให้ชอบด้วยกฏหมาย

(๓) เกษตรกรรมสุขภาพ :
จัดทำเขตเกษตรกรรมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองวิถีเกษตรอินทรีย์เกษตรเพื่อสุขภาวะ และเกษตรพึ่งตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

(๔) สันติภาพยั่งยืน :
ไม่ฝักใฝ่อำนาจ เผด็จการ ความรุนแรง และการสร้างแนวทางปรองดอง โดยการเสนอนโยบายสาธารณะให้ทุกพรรค
และสังคมส่วนรวม